เอื้องแซะหอม / -

เอื้องแซะหอมมีดอกหอมแรงสมชื่อที่คนไทยตั้งขึ้น พบมากในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในอดีตเป็นเครื่องบรรณาการที่เจ้าเมืองแม่ฮ่องสอนส่งให้กับเจ้าเมืองเชียงใหม่ ชาวล้านนา มีความเชื่อว่าเป็นสาวงามที่ตรอมใจตายเมื่อที่ทราบว่าชายที่ตนเฝ้าคอยนอกใจ วิญญานของเธอล่องลอยไปห่มที่ต้นเอื้องแซะหอมเป็นขนสีดำสั้นกระจายทั่วทำต้น ในอดีตมีมากในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ชาวบ้านตัดลำที่ออกดอกมาปักแจกันบูชาพระ แต่ปัจจุบันห้ามเก็บห้ามขายเพื่อป้องกันการสูญพันธุ์ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ยังเคยส่งเสริมให้กลุ่มชาวบ้านปลูกเลี้ยงแล้วนำดอกไปสกัดน้ำหอมอีกด้วย นอกจากจะพบมากที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนแล้ว ยังพบอีกหนึ่งประชากรในประเทศไทยที่เขาใหญ่ ซึ่งเป็นการกระจายพันธุ์แบบกระโดด ช่วงเดือนมกราคมถ้ามีโอกาสไปที่เขาใหญ่ ใช้กล้องดูนกส่องดูตามยอดไม้แล้วท่านจะเห็นเอื้องแซะหอมออกดอกสีขาว สง่างามตามกิ่งไม้ที่นั่น ประวัติการค้นพบ: John Lindley นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ตั้งชื่อนี้ในปี ค.ศ. 1858 ที่มาชื่อไทย: แซะเป็นภาษาล้านนาแปลว่า ใช้อย่างสิ้นเปลือง จึงน่าจะหมายถึงมีให้ใช้จำนวนมาก ในอดีตเป็นกล้วยไม้ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ดอกมีกลิ่นหอมแรง ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:กล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยมีขนสั้นละเอียดสีดำปกคลุม ใบ รูปรี กว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 5-6 ดอก ออกเดี่ยว หรือเป็นช่อสั้นๆ 1-3 ดอก ออกตามข้อใกล้ปลายยอด ขนาดบานเต็มที่กว้าง 2.5-3 ซม. มีกลิ่นหอมแรง กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาว หรืออมเขียวอ่อน กลีบปากสีจะเข้มขึ้น จากสีเหลืองแกมเขียวเปลี่ยนจนเป็นสีเหลืองส้ม หูกลีบปากตั้งขึ้น และมีลายสีเขียว นิเวศวิทยา: พบขึ้นตามป่าดิบแล้งและป่าสน ในภาคเหนือ ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ การกระจายพันธุ์: ในธรรมชาติพบน้อยมาก ข้อมูลชีววิทยาอื่นๆ: อาศัยแมลงในการผสมเกสร แต่ไม่มีน้ำหวานเป็นรางวัลให้แมลง สถานภาพทางการอนุรักษ์: เอกสารอ้างอิง:เอื้องแซะ | Dendrobium scabrilingue Lindl. : BGO Plant Database-ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ (qsbg.org)


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Dendrobium scabrilingue Lindl.

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง